วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

กีฬาสี











วันแรกเดินขบวนรอบตลาด ดูแลเพื่อนที่เป็นเทพีและแข่งบาสเก็ตบอล  วันที่2 แข่งฟุตบอล และร้องเชียรและแจกขนมน้องวันที่3แข่งบาส และร้องเชียร์  ในสีวันสุดท้ายร้องเชียร์  และดูแลน้องๆในสี

วันคริสต์มาส

คริสต์มาสต์
          คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas; อังกฤษเก่า: Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ (อังกฤษ: Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูเป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ (Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวันคริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด
       วันที่พระเยซูประสูติจริง ๆ นั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่คะเนไว้ว่าราว 2 ปีก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 7ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ตะวันตกกำหนดวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งต่อมาศาสนาคริสต์ตะวันออกได้รับวันดังกล่าวไปด้วย มีทฤษฎีอธิบายว่า เหตุผลที่เลือกวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมฉลองคริสตสมภพนั้นเพราะเป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังคริสต์ศาสนิกชนสมัยแรกเฉลิมฉลองวันแม่พระรับสาร หรือตรงกับวันเหมายันของโรมันหรือเทศกาลฤดูหนาวเพเกินโบราณเพื่อยุติการเฉลิมฉลองเหล่านี้และแทนที่ด้วยการฉลองของคริสต์ศาสนิกชน
       วันการเฉลิมฉลองในศาสนาคริสต์ตะวันออกแต่เดิม คือ วันที่ 6 มกราคม โดยเชื่อมโยงกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ในปัจจุบัน วันดังกล่าวยังเป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคริสตจักรอาร์มีเนียอะโพสโตลิกและในประเทศอาร์มีเนียซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จนถึง ค.ศ. 2011 ระหว่างปฏิทินเกรโกเรียนสมัยใหม่และปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า มีวันคลาดเคลื่อนกันอยู่ 13 วัน ผู้ที่ยังใช้ปฏิทินจูเลียนหรือเทียบเท่าต่อไปจึงเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมและ 6 มกราคมที่ประชากรโลกส่วนใหญ่เฉลิมฉลอง ในวันที่ 7 มกราคมและ 19 มกราคมแทน ด้วยเหตุนี้ เอธิโอเปีย รัสเซีย ยูเครน มาเซโดเนียและมอลโดวาจึงเฉลิมฉลองคริสต์มาส ทั้งที่เป็นวันสมโภชของคริสต์ศาสนิกชนและที่เป็นวันหยุดราชการ ตามในปฏิทินเกรโกเรียนคือ วันที่ 7 มกราคม
       ประเพณีการเฉลิมฉลองอันเป็นที่นิยมที่เหมือนกันในหลายประเทศมีการผสมผสานแนวคิดและกำเนิดก่อนศาสนาคริสต์ สมัยศาสนาคริสต์ และฆราวาส ประเพณีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในวันดังกล่าวมีการให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาสและเพลงเทศกาล การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์ มื้อพิเศษ และการจัดแสดงการประดับตกแต่งหลายอย่าง รวมทั้งต้นคริสต์มาส แสงไฟ ฉากการประสูติของพระเยซู มาลัย พวงหรีด มิสเซิลโทและฮอลลี นอกเหนือจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและแทนกันได้บ่อยครั้งหลายคน เช่น ซานตาคลอส ฟาเธอร์คริสต์มาส นักบุญนิโคลัส และคริสต์คินด์ เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็กในเทศกาลคริสต์มาส และต่างมีประเพณีและตำนานเป็นของตนเองเพราะการให้ของขวัญและอีกหลายส่วนของเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่มิใช่ วันคริสต์มาสจึงเป็นเหตุสำคัญและช่วงลดราคาหลักสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคทั่วโลก

 ชื่อ
รากศัพท์
คำว่า '"Christmas" ในภาษาอังกฤษ เกิดขึ้นเป็นคำประสมหมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์" มาจากคำในภาษาอังกฤษสมัยกลาง Christemasse ซึ่งมาจากคำว่า Cristes mæsse ในภาษาอังกฤษเก่าอีกทอดหนึ่ง คำนี้พบครั้งแรกในเอกสารที่บันทึกใน ค.ศ. 1038คำว่า Crīst (แสดงความเป็นเจ้าของ Crīstes) มาจากภาษากรีก Christos ซึ่งเป็นคำแปลของ Māšîa (เมสสิยาห์) ในภาษาฮีบรู และ "mæsse" มาจากภาษาละติน missa คือ การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท รูปแบบ "Christenmas" ยังพบใช้ในอดีตเช่นกัน แต่ปัจจุบันถูกมองว่าโบราณและเฉพาะถิ่น  คำดังกล่าวมาจากภาษาอังกฤษกลางว่า Cristenmasse อันมีความหมายตามอักษรว่า "มิสซาคริสเตียน" "Xmas" เป็นการย่อคำว่า คริสต์มาส ส่วนใหญ่พบในสื่อตีพิมพ์ มาจากอักษรตัวแรก Χ ในคำว่า Khrīstos (Χριστός) ภาษากรีก ซึ่งหมายถึง "คริสต์" แม้รูปแบบการเขียนหลายแห่งไม่สนับสนุนการใช้[21] การใช้นี้มีแบบอย่างในภาษาอังกฤษกลาง Χρ̄es masse (โดยที่ "Χρ̄" เป็นการย่อ Χριστός)

ชื่ออื่น
       นอกเหนือไปจาก "คริสต์มาส" แล้ว วันดังกล่าวยังรู้จักกันในชื่ออื่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พวกแองโกล-แซกซันเรียกงานสมโภชกลางฤดูหนาว (midwinter)  หรือที่พบน้อยกว่า Nātiuiteð จากภาษาละติน nātīvitās "Nativity" หมายถึง "การเกิด" มาจากภาษาละติน nātīvitās ในภาษาอังกฤษเก่า Gēola ("ตรุษฝรั่ง", Yule) หมายถึง ช่วงเวลาซึ่งสัมพันธ์กับเดือนมกราคมและธันวาคม ภาษานอร์สโบราณที่มาจากกำเนิดเดียวกัน Jól ภายหลังได้ใช้เป็นชื่อของวันหยุดเพเกินสแกนดิเนเวีย ซึ่งผนวกรวมกับคริสต์มาสราว ค.ศ. 1000 "Noel" (หรือ "Nowell") เข้าสู่ภาษาอังกฤษในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 และมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า noël หรือ naël คำนี้มาจากภาษาละติน nātālis (diēs) หมายถึง " (วัน) แห่งการเกิด"
การเฉลิมฉลอง
        วันคริสต์มาสเป็นเทศกาลหลักและวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มิใช่คริสต์ศาสนิกชน ในบางประเทศที่มิใช่คริสต์ ประเทศเหล่านี้รับคริสต์มาสเข้ามาระหว่างถูกปกครองเป็นอาณานิคม (เช่น ฮ่องกง) ส่วนในประเทศอื่น ประชากรค่อย ๆ รับเอาการเฉลิมฉลองของคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มน้อยหรืออิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างประเทศ ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคริสต์มาสเป็นที่นิยมแม้มีคริสตศาสนิกชนน้อย ก็ได้รับเอาคริสต์มาสส่วนที่เป็นฆราวาสหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การประดับตกแต่ง และต้นคริสต์มาส ประเทศที่คริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี
และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบแตกต่างกันชัดเจนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติ

ในกลุ่มประเทศที่มีประเพณีแบบคริสต์มั่นคง การเฉลิมฉลองคริสต์มาสอันหลากหลายได้รับการปรับปรุงกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นและภูมิภาค สำหรับคริสต์ศาสนิกชน การเข้าร่วมศาสนพิธีถือเป็นส่วนสำคัญในการยอมรับเทศกาลดังกล่าว คริสต์มาส ตลอดจนเทศกาลอีสเตอร์ เป็นช่วงที่มีคนเข้าโบสถ์มากที่สุดในแต่ละปี ในประเทศคาทอลิก ประชากรจัดการเดินขบวนทางศาสนาหรือขบวนแห่ก่อนคริสต์มาส ในประเทศอื่น มีการจัดการเดินขบวนฆราวาสหรือขบวนแห่ซึ่งนำเสนอซานตาคลอสและบุคคลสัญลักษณ์ของเทศกาลอื่น ๆ ที่มักจัดขึ้นบ่อยครั้ง การรวมญาติและการแลกของขวัญได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของเทศกาลอย่างกว้างขวาง ประเทศส่วนใหญ่มีประเพณีการให้ของขวัญ ส่วนวันอื่นที่มีการแลกของขวัญ ได้แก่ วันนักบุญนิโคลัส ที่ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ที่ตรงกับวันที่ 6 มกราคม
วันที่จัดเทศกาล
        นักเขียนคริสต์ศาสนิกชนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้องเป็นเวลาหลายศตวรรษ นักบุญจอห์น คริสซอสตอมเทศนาในแอนติออกเมื่อประมาณ ค.ศ. 386 ซึ่งสถาปนาวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมตามปฏิทินจูเลียนเพราะการตั้งครรภ์พระเยซู (ลูกา 1:26) ได้รับการประกาศระหว่างเดือนที่หกของการตั้งครรภ์ของเอลิซาเบธกับนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ลูกา 1:10-13) ดังที่บันทึกไว้จากพันธกิจซึ่งซาคาริยาส์กระทำในวันทดแทนบาป (Day of Atonement) ระหว่างเดือนที่เจ็ดของปฏิทินฮีบรู เอธานิมหรือตีซรี (เลวีนิติ 16:29, 1 พงษ์กษัตริย์ 8:2) ซึ่งตกอยู่ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม

         ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการเริ่มเสนอคำอธิบายอื่นแทน ไอแซก นิวตันแย้งว่า คริสต์มาสถูกเลือกให้ตรงกับเหมายัน ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม ใน ค.ศ. 1743 คริสเตียนชาวเยอรมัน พอล แอร์นสท์ จาบลอนสกี ให้เหตุผลว่า คริสต์มาสจัดตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมเพื่อให้ตรงกับวันหยุดทางสุริยคติของโรมัน ดีเอส นาตาลิส โซลิส อินวิกติ และดังนั้นจึงเป็นการทำให้เป็นเพเกินซึ่งลดคุณค่าศาสนจักรที่แท้จริง ใน ค.ศ. 1889 หลุยส์ ดือแชนเสนอว่าวันที่คริสต์มาสนั้นคำนวณมาจากเก้าเดือนหลังฉลองแม่พระรับสาร วันที่แต่เดิมถือเป็นการเริ่มตั้งครรภ์พระเยซู ซึ่งวันนั้นตั้งอยู่บนความเชื่อแต่โบราณว่าพระองค์ทรงมาตั้งครรภ์และถูกตรึงบนไม้กางเขนในวันเดียวกัน คือ วันที่ 15 เดือนนิสาน                                   อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ไม่ว่าวันประสูติของพระเยซูจะตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมหรือไม่นั้น ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญในศาสนาคริสต์กระแสหลัก แต่การเน้นการเฉลิมฉลองการที่พระเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์เพื่อไถ่บาปแก่มนุษยชาติถือว่าเป็นความหมายหลักของคริสต์มาสต์

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

ปีใหม่

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่
      
      วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
   
       วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี
    ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
     และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
      แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย
       
        สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย  
         แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่
        ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"

เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม
         
       ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ
    - เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
    - เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ
    - ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
    - เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

เพลงวันปีใหม่

          แน่นอนว่า เพลงที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ก็คือ "เพลงพรปีใหม่" ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีพระราชประสงค์ให้เพลงนี้ เป็นพรปีใหม่ที่พระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า
          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทยเป็นครั้งแรกในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 โดยเพลงพรปีใหม่ มีเนื้อร้องดังนี้


          เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
         
                ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
                คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

                สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
                ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
                ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
                โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

                ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
                ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
                ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
                ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



วันพ่อ


วันพ่อแห่งชาติ

          สำหรับวันพ่อแห่งชาติของประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 และยังได้มีการกำหนดให้ดอกพุทธรักษา เป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ
         ทั้งนี้ นอกจากวันที่ 5 ธันวาคม จะเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" แล้ว ยังถือว่าวันนี้เป็น "วันชาติของไทย" อีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยมีการกำหนดวันชาติให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายน เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ 
         ซึ่ง "วันชาติ" ของไทยนั้นอยู่มานานถึง 21 ปี จนวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 ในสมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ถือวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยเหตุที่เปลี่ยนเพราะมีข้อไม่เหมาะสมหลายประการ คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน 
        จึงควรถือเอาวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน เสีย ดังนั้นนับแต่ปี 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันชาติ" ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  

ที่มาของ วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย
        วันพ่อแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา เป็นผู้ริเริ่มจัดงานวันพ่อแห่งชาติ เนื่องจาก "พ่อ" คือผู้ที่ควรได้รับการเทิดทูน และยกย่อง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา และทรงทำนุบำรุงพระราชโอรส และพระราชธิดาด้วยความรัก ทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเพื่อให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท

          นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้พสกนิกรถ้วนหน้า จึงถือเป็น "พ่อแห่งชาติ" ของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันพ่อแห่งชาติ
          วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันพ่อแห่งชาติ คือ
   1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
   2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
   3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
   4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
   5. เพื่อประกาศเกียรติคุณให้กับพ่อ และลูกที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี สมควรแก่การยกย่องของสังคม
   6. เพื่อรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ต่อไป

กิจกรรม 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ
         กิจกรรมที่นิยมปฏิบัติในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ได้แก่ การประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน, การจัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร, การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และที่ขาดไม่ได้สำหรับกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ คือการมอบรางวัลพ่อตัวอย่างหรือพ่อดีเด่น เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม อีกทั้งยังเพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน 

          และในวันพ่อแห่งชาตินี้ ลูก ๆ ทั้งหลายก็อย่าลืมแสดงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อพ่อ แม้ว่าจริง ๆ แล้วการแสดงความรักและความกตัญญูต่อพ่อสามารถแสดงได้ทุกวัน ไม่ใช่แค่วันพ่อแห่งชาติ เพียงวันเดียว

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนางสาว ฐิติรัตน์  สิกบุตร(Thitirat  Sikkabut)
ชื่อเล่น โบว์(Bow)
วันเกิด เกิดวันศุกร์ ที่ 24 เดือน ตุลาคม พ.2540
สถานที่เกิด โรงพยาบาลตราด  จังหวัดตราด
กรุ๊ปเลือด 
ที่อยู่ ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 308  หมู่ที่ 9 ตำบลวังกระแจะ  อำเภอเมือง
จังหวัดตราด รหัสไปรษณีย์ 23000
การศึกษา กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
ติดต่อ Line: 0642634798 อินสตาแกรม bowweenice
อีเมล์   bow34798@gmail.com
นิสัยส่วนตัว ทะเล้น ขี้เล่นกับคนสนิท เป็นคนพูดตรง
วิชาที่ชอบ/ถนัด ภาษาอังกฤษ
 งานอดิเรก ฟังเพลง ดูหนัง เล่นอินเทอร์เน็ต
สีที่ชอบ สีชมพู  สีดำ
สัตว์เลี้ยง สุนัข
คติประจำใจ  เดินก้าวไปข้างหน้า ดีกว่าจมปลักอยู่กับที่
Walk forward It's better to be stuck with that.
向前走最好能坚持下去。
Xiàng qián zǒu zuì hǎo néng jiānchí xiàqù.